ระบบโซล่าเซลล์ต่างกันอย่างไร? เลือกแบบไหนคุ้มที่สุด
ระบบโซล่าเซลล์ หรือระบบพลังงานแสงอาทิตย์กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถผลิตพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการใช้พลังงานจากแหล่งเชื้อเพลิงเดิม ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีวันหมดไม่สามารถใช้อย่างถาวร อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน การหันมาใช้พลังงานทดแทนอย่างโซล่าเซลล์จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะนอกจากเรื่องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมระบบโซล่าเซลล์ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าในระยะยาวได้
การติดตั้งโซล่าเซลล์เป็นเรื่องสำคัญ การเลือกติดตั้งให้ถูกประเภทเหมาะกับความต้องการจะช่วยให้คุณสามารถใช้พลังงานได้ตอบโจทย์ และลดต้นทุนอย่างตรงจุด บทความนี้จะอธิบายความแตกต่างของระบบโซล่าเซลล์แต่ละประเภท เพื่อให้คุณเห็นภาพชัดเจนก่อนตัดสินใจติดตั้ง
ทำความรู้จักระบบโซล่าเซลล์
ระบบโซล่าเซลล์ สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภทหลัก ได้แก่ ระบบโซล่าเซลล์ออนกริด (On-Grid System), ระบบโซล่าเซลล์ออฟกริด (Off-Grid System), ระบบโซล่าเซลล์ไฮบริด (Hybrid System) ซึ่งแต่ละประเภทมีคุณสมบัติและหลักการทำงานที่ต่างกัน ทั้งต้นทุน ความเหมาะสมต่อการใช้งาน และกระบวนการติดตั้ง ดังนี้
1.ระบบโซล่าเซลล์ออนกริด (On-Grid System)
ระบบโซล่าเซลล์ออนกริด (On-Grid) เป็นระบบที่ใช้ต้นทุนการติดตั้งน้อยที่สุด เนื่องจากเชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าหลัก ก่อนการติดตั้งจึง ต้องขออนุญาตติดตั้ง กับการไฟฟ้า โซล่าเซลล์ระบบนี้สามารถผลิตพลังงานในตอนกลางวันที่มีแสงแดดเท่านั้น หากแสงแดดไม่เพียงพอจึงจะดึงไฟฟ้าจากโครงข่ายไฟฟ้าหลักมาใช้งานแทน ถ้าโครงข่ายไฟฟ้าหลักดับระบบออนกริด (On-Grid) จะไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย เหมาะสำหรับการติดตั้งในครัวเรือน หรือภาคธุรกิจที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ที่ไฟฟ้าสามารถเข้าถึงได้ และต้องการลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าในระยะยาว
2.ระบบโซล่าเซลล์ออฟกริด (Off-Grid System)
ระบบโซล่าเซลล์ออฟกริด (Off-Grid) ไม่ต้องขออนุญาตการติดตั้ง จากการไฟฟ้า เนื่องจากมีแบตเตอรี่เก็บพลังงานที่ผลิตไว้นำมาใช้ภายหลังได้ แม้มีแสงแดดไม่เพียงพอหรือไฟดับก็สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าได้ จึงไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าหลัก เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง หรือผู้ที่ต้องการลดค่าไฟในระยะยาว
3.ระบบโซล่าเซลล์ไฮบริด (Hybrid System)
ระบบโซล่าเซลล์ไฮบริด (Hybrid System) คือการผสมผสานข้อดีของระบบออนกริด (On-Grid) และ ออฟกริด (Off-Grid) ไว้ด้วยกัน โดยสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าหลัก และมีแบตเตอรี่สำหรับเก็บพลังงานไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น ไฟดับ เหมาะสำหรับบ้าน หรือภาคธุรกิจที่ต้องการลดความเสี่ยงจากไฟดับ
เปรียบเทียบความแตกต่างของโซล่าเซลล์แต่ละประเภท
การเลือกระบบโซล่าเซลล์ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งด้านการใช้งาน งบประมาณ และความเหมาะสมของพื้นที่ที่ใช้ติดตั้ง แม้โซล่าเซลล์จะสามารถลดต้นทุนได้ในระยะยาว แต่การเลือกและเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย จะช่วยให้คุณหาโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมกับความต้องการเพื่อการใช้งานที่คุ้มค่าอย่างยั่งยืน
ข้อดีของระบบโซล่าเซลล์ออนกริด (On-Grid System)
- ต้นทุนการติดตั้งต่ำ
- ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่
- สามารถขายพลังงานที่ผลิตเกินกลับให้รัฐได้
- ใช้พลังงานจากโครงข่ายหลักเมื่อพลังงานจากแสงอาทิตย์ไม่พอ
ข้อเสียของระบบโซล่าเซลล์ออนกริด (On-Grid System)
- ไม่สามารถใช้งานได้เมื่อไฟฟ้าหลักดับ
- ผลิตไฟฟ้าได้เฉพาะช่วงที่มีแสงแดด
ข้อดีของระบบโซล่าเซลล์ออฟกริด (Off-Grid System)
- มีแบตเตอรี่
- ผลิตพลังงานใช้เองได้ 100%
- ใช้งานได้ในพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มีไฟฟ้า
- มีพลังงานสำรองในช่วงกลางคืน
ข้อเสียของระบบโซล่าเซลล์ออฟกริด (Off-Grid System)
- ต้นทุนการติดตั้งสูงเนื่องจากมีแบตเตอรี่
- แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานจำกัด (5-10ปี)
- มีค่าบำรุงรักษาแบตเตอรี่
- พลังงานอาจไม่เพียงพอในฤดูฝน
ข้อดีของระบบโซล่าเซลล์ไฮบริด (Hybrid System)
- ใช้งานได้ทุกสถานการณ์
- มีแบตเตอรี่
- มีพลังงานสำรองหากไฟฟ้าหลักดับ
- ลดการใช้ไฟฟ้าจากโครงข่ายหลักได้
ข้อเสียของระบบโซล่าเซลล์ไฮบริด (Hybrid System)
- ต้นทุนการติดตั้งสูงที่สุด
-ใช้แบตเตอรี่และอินเวอร์เตอร์ไฮบริด
- ค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษาสูง
เคล็ดลับการเลือกติดตั้งระบบโซล่าเซลล์บ้าน ควรเลือกอย่างไร?
การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์บ้าน ถือเป็นการลงทุนที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายและสร้างความคุ้มค่าในระยะยาว ก่อนติดตั้งควรพิจารณาและวางแผนอย่างรอบคอบ เพื่อให้คุณได้ระบบโซล่าเซลล์ที่เหมาะสม ตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุด
1.วิเคราะห์ความต้องการจากลักษณะการใช้ไฟฟ้า
- หากต้องการลดค่าไฟในระยะยาวพร้อมกับสามารถใช้งานไฟฟ้าจากโครงข่ายหลักได้ ระบบออนกริด (On-Grid) สามารถตอบโจทย์ได้มากกว่า
- สำหรับผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ไฟฟ้าไม่สามารถเข้าถึงได้ ระบบออฟกริด (Off-Grid) เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด
- ระบบที่มีพลังงานสำรองสำหรับพร้อมใช้งานตลอดเวลา เพื่อใช้ในบ้าน หรือภาคธุรกิจที่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าตลอด เช่น โรงพยาบาล ระบบไฮบริด (Hybrid) อาจช่วยได้มากกว่าระบบอื่น
2.ประเมินงบประมาณการติดตั้ง
- ระบบโซล่าเซลล์ออนกริด (On-Grid): มีต้นทุนการติดตั้งต่ำที่สุด เนื่องจากไม่ต้องใช้แบตเตอรี่
- ระบบโซล่าเซลล์ออฟกริด (Off-Grid): มีต้นทุนสูงขึ้นเพราะต้องติดตั้งแบตเตอรี่สำหรับเก็บพลังงาน
- ระบบโซล่าเซลล์ไฮบริด (Hybrid): ใช้ต้นทุนสูงที่สุดเนื่องจากต้องติดตั้งแบตเตอรี่และอินเวอร์เตอร์ไฮบริด
ทั้งนี้ การติดตั้งโซล่าเซลล์ควรพิจารณาค่าบำรุงรักษาระยะยาว เช่น การเปลี่ยนแบตเตอรี่ตามอายุการใช้งาน ของระบบออฟกริด และไฮบริด เพื่อการใช้งานอย่างยั่งยืน
3.ตรวจสอบข้อกำหนดของกฎหมายก่อนติดตั้งโซล่าเซลล์
- ระบบออนกริด (On-Grid): ต้องขออนุญาตจากการไฟฟ้าก่อนติดตั้ง เนื่องจากเป็นระบบที่ต้องใช้พลังงานร่วมกับโครงข่ายไฟฟ้าหลัก
- ระบบออฟกริด (Off-Grid) และ ระบบไฮบริด (Hybrid): ควรตรวจสอบข้อกำหนดเกี่ยวกับการติดตั้ง และข้อกำหนดความปลอดภัยในพื้นที่
การติดตั้งโซล่าเซลล์ควรพิจารณาถึงข้อกำหนดหลายอย่าง การศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบโซล่าเซลล์แต่ละประเภทอย่างละเอียดเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ด้วยราคาการติดตั้งที่สูง การคำนวณงบประมาณ วิเคราะห์ความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ ก่อนตัดสินใจซื้อจะช่วยให้คุณหาโซล่าเซลล์ที่เหมาะต่อการใช้งานได้ อีกทั้งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าในระยะยาว แม้ราคาจะสูงในแรกเริ่ม แต่การติดตั้งโซล่าเซลล์จะช่วยคืนความคุ้มค่าทั้งในด้านการใช้พลังงาน และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนได้อย่างแน่นอน
นอกจากทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบโซล่าเซลล์แล้ว การเลือกผู้ให้บริการที่เชื่อถือได้และมีประสบการณ์อย่างเชี่ยวชาญ จะช่วยให้การติดตั้งโซล่าเซลล์เป็นไปอย่างง่ายดายและมีคุณภาพ บริษัท นำแสงจักรกล จำกัด รับติดตั้งและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับระบบโซล่าเซลล์ออนกริด (On-Grid), ระบบโซล่าเซลล์ออฟกริด (Off-Grid) และ ระบบโซล่าเซลล์ไฮบริด (Hybrid) ตั้งแต่การเลือกระบบที่เหมาะสม ตลอดจนการดูแลหลังการติดตั้ง เพื่อให้คุณได้รับประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพในการใช้งาน